เดฟั่น เมื่อเรื่องเล่าทำให้ประวัติศาสตร์ออกมาจากที่ซ่อน

พิมพ์นิภา พ่วงบุตร  

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

            เดฟั่น เรื่องเล่าของตระกูลคนเฆี่ยนเสือ นวนิยายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ปี 2564 ซึ่งเป็นงานเขียนของ ศิริวร แก้วกาญจน์ กวี นักเขียน ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ผจญภัยกับเพื่อนนักเขียนและนักกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม เป็นบรรณาธิการผู้ก่อตั้ง นิตยสารวรรณกรรม (รายสะดวก) ชื่อ Bookmark ศิริวร แก้วกาญจน์ เป็นนักเขียนที่มีผลงาน บทกวี เรื่องสั้น นวนิยาย บทความ ความเรียง และหนังสือสารคดี หนังสือบางเล่มของเขาได้รับรางวัลดีเด่นงานประจำสัปดาห์

            “เดฟั่น” เป็นนวนิยายที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าของ ชุมชน ท้องถิ่น ชาติไทย ไปจนถึงประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าในระดับนานาชาติ   ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อการประกอบสร้างตัวตนของ “เดฟั่น” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ในทางกลับกัน ศิริวร แก้วกาญจน์ ยังใช้ตัวละคร “เดฟั่น” เป็นตัวกลาง ในการถ่ายทอดออกมา เพื่อให้เห็นเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงบางเรื่อง แต่ประวัติศาสตร์เล่านั้นที่ถูกถ่ายทอดผ่านเรื่องเล่าจะเป็นจริงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความเชื่อและหลักฐานที่ผู้รับสารว่ามีมากน้อยเพียงไร ความเชื่อจากเรื่องเล่า อาจเป็นตัวเปลี่ยนประวัติศาสตร์ หรือประวัติศาตร์ทำให้เกิดความเชื่อ ประวัติศาสตร์ที่เกิดจาก บุคคลธรรมดา ไม่มีอำนาจ ไม่มีชื่อเสียง บางครั้งถูกปลี่ยนแปลงหรือไม่ได้รับความสนใจ ใครชนะ ใครมีอิทธิพล เป็นผู้กำหนดประวัติศาสตร์ แต่ประวัติศาสตร์ไม่เคยห่างหายจากเรื่องเล่าที่เล่าผ่านรุ่นสู่รุ่น  เรื่องเล่าจึงเปรียบเสมือน เป็นตัวเรียกฟื้นความจำประวัติศาสตร์เล่านั้นให้กลับมา เป็นเรื่องราวที่ให้คนรุ่นหลังได้รู้ ได้ทราบต่อไป ดังที่ ศิริวร แก้วกาญจน์ ได้เขียนไว้ท้ายปกหนังสือนวนิยายเล่มนี้

            “แต่พลังและอำนาจของเรื่องเล่าก็พยายามดิ้นรนนำพาตัวเองไปยังดินแดนที่ประวัติศาสตร์อับจนหนทาง”

            เห็นได้ชัดว่า ศิริวร แก้วกาญจน์ พยายามถ่ายทอดประวัติศาสตร์เหล่านั้นออกมาผ่านเรื่องแต่ง โดยกำหนด โครงเรื่อง กำหนดตัวละคร และแฝงความเป็นประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงผ่านสถานการณ์ ผ่านเรื่องเล่า ผ่านนบทสนทนา ของตัวละคร ดังข้อความต่อไปนี้

            “เดฟั่น จำไม่ได้ ปู่ทวดของเขาขี่เฆี่ยนเสือโคร่งตัวเท่าวัวถึกหนีพวกอังกฤษมาจากไทรบุรี พวกเขาไม่ได้หนีเพราะความหวาดกลัว เพียงแต่ไม่อยากอยู่ได้อำนาจการปกครองของพวกอังกฤษ เช่นเดียวกับสุลต่านแห่งกลันตลันที่ส่งใบบอกไปยังกรุงเทพมหานคร” (เดฟั่น 2564 : 17)

            ปี ค.ศ. 1909 สยามและอังกฤษได้เจรจาสนธิสัญญา ค.ศ. 1909 โดยมีข้อตกลงให้สยามต้องโอนสิทธิ์เหนือดินแดนมลายู ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิศ และเกาะใกล้เคียงให้แก่อังกฤษ เพื่อแลกกับการยกเลิกอนุสัญญาลับ ค.ศ. 1897 ยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และกู้เงินสำหรับการสร้างทางรถไฟสายใต้ของสยาม[1]

            “ปีนั้นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เริ่มต้นประกาศสงครามกับประชาชนและรัฐบาล เกาะสิงคโปร์เพิ่งแยกตัวจากมาเลเซีย ลีกวนยู ประกาศเอกราชทั้งน้ำตา อาภัสรา หงสกุล ได้เป็นนางงามจักรวาล จิตร ภูมิศักดิ์ พึ่งออกจากคุกมาเมื่อปลายปีก่อน และกำลังวางแผนเข้าป่าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ก่อนจะถูกฆ่าในปีถัดมา” (เดฟั่น 2564 : 59)

            ปี พ.ศ. 2498 พักคอมมิวนิสต์ประกาศสงคราม สนับสนุนการปฏิวัติประชาชนด้วยความรุนแรง ปี พ.ศ. 2507 อาภัสรา หงสกุลได้เป็นนางงามจักรวาล วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกจับกุมข้อหากระทำการคอมมิวนิสต์  และถูกปล่อยตัวในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2508 สิงคโปร์แยกตัวจากมาเลเซีย เรื่องราวดังกล่าวล้วนเป็นประวัติศาตร์ที่เกิดขึ้นจริง ที่ศิริวร แก้วกาญจน์ นำมาถ่ายทอดในรูปแบบของเรื่องเล่าที่มีตัวละครเป็นผู้ดำเนินเรื่อง

            จากแนวคิดของ Owen Flanagan จาก Duke University ซึ่งเป็นนักวิจัยด้านจิตสำนึกชั้นนำ เขียนว่า “หลักฐานบ่งชี้อย่างยิ่งว่ามนุษย์ในทุกวัฒนธรรมต่างแสดงอัตลักษณ์ของตนเองในรูปแบบการเล่าเรื่องบางอย่าง เราเป็นนักเล่าเรื่องที่เก่งกาจ”  (การพิจารณาจิตสำนึกใหม่ MIT Press, 1992) แนวคิดของ ศิริวร แก้วกาญจน์ มีความสอดคล้องกับแนวคิดของ  Owen Flanagan ที่ศิริวร แก้วกาญจน์ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นอัตลักษณ์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของผู้คนในแถบเทือกเขาบรรทัด รวมไปถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้น ออกมาผ่านการเล่าเรื่อง ดังข้อความต่อไปนี้  

            “ห้าสิบปีนานพอที่ทำให้เรื่องเล่าเกี่ยวกับการอพยพบางส่วนขาดหายไป บางความหมายล้นเกิน บึงเสือผ่านเลยกลายเป็นบึงเสือเผ่น ชายชราคนหนึ่งเล่าว่าเขาเป็นคนรุ่นแรกของหมู่บ้าน ปีนั้นพวกเขาฆ่าคนอังกฤษตายไปคนหนึ่งที่ไทรบุรี จึงชวนกันอพยพหลบหนีการไล่ล่าของพวกอังกฤษ เขานำขบวนมาบนหลังเสือขาวตัวหนึ่ง ครั้นเดินทางมาถึงบึงแห่งนี้ อยู่ ๆ เจ้าเสือก็สะบัดเขาตกลงจากหลังของมัน  เผ่นหายไปในภูเขามีพรรคพวกเขากลุ่มหนึ่งไล่ตามเสือตัวนั้น เขาเห็นใครบางคนกระโดดขึ้นขี่หลังเสือขาว จากนั้นทั้งคนทั้งเสือก็หายไปในผืนป่าของเทือกเขาบรรทัด”

(เดฟั่น 2564 : 58)

            จากข้อความข้างต้น เห็นได้ว่าตัวผู้ ศิริวร แก้วกาญจน์  เล่าถึงตำนานและเรื่องเล่าของที่มาหมู่บ้านคนเฆี่ยนเสือ ที่มีลักษณะเด่น คือเลี้ยงเสือ คนในหมู่บ้านคุ้นชินกับเสือ หมู่บ้านคนเฆี่ยนเสือ มาจากการอพยพย้ายถิ่นฐานหนีจากเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษจากไทรบุรี มาลงหลักปักฐานในแถบเทือกเขาบรรทัด  ซึ่ง ศิริวร แก้วกาญจน์  ได้แสดงอัตลักษณ์ของผู้คนในหมู่บ้านนี้ผ่านการเล่าเรื่อง ซึ่งตรงกับแนวคิดของ Owen Flanagan ที่มนุษย์ในทุกวัฒนธรรมต่างแสดงอัตลักษณ์ของตนเองในรูปแบบการเล่าเรื่องบางอย่าง เช่นเดียว กับ ศิริวร แก้วกาญจน์ ที่เลือกเสนอภาพอัตลักษณ์ของคนหมู่บ้านนี้ผ่านเรื่องเล่า โดยใช้ ชายชราตัวละครเป็นตัวเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านนี้

 

เดฟั่น เจ้าของเรื่องเล่า ผู้ไม่ได้เล่าเรื่อง  (เดฟั่น จำไม่ได้)

            Joseph Campbell ที่เสนอแนวคิดการเล่าเรื่องแบบการเดินทางของวีรบุรุษ (The Hero’s Journey) แนวคิดเรื่อง monomyth ของแคมป์เบลล์ (หนึ่งตำนาน) หมายถึง ทฤษฎีที่มองเห็นเรื่องเล่าในตำนานทั้งหมดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่เพียงเรื่องเดียว ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานจากการสังเกตว่ารูปแบบทั่วไปอยู่ภายใต้องค์ประกอบการเล่าเรื่องของตำนานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยไม่คำนึงถึงที่มาหรือเวลาของการสร้างสรรค์ แคมป์เบลล์มักกล่าวถึงแนวคิดของ อดอล์ฟ บาสเตียนและความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เขาเรียกว่า "ความคิดพื้นบ้าน" และ "แนวคิดเบื้องต้น" แนวคิดหลังกล่าวถึงสาระสำคัญของตำนาน monomyth ในขณะที่รูปแบบเดิมที่มีรูปแบบท้องถิ่นมากมายที่ตำนานใช้เพื่อให้คงอยู่ ผู้ให้บริการความหมายอันศักดิ์สิทธิ์ที่ทันสมัย รูปแบบศูนย์กลางที่ Campbell ศึกษาส่วนใหญ่มักเรียกกันว่าฮีโร่' (Joseph Campbell : ไฟไหม้ในมายด์ที่ได้รับอนุญาตชีวประวัติสตีเฟ่นและโรบินเสนดับเบิล 1991)

            นวนิยายเรื่อง “เดฟั่น” ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ ยังสอดคล้องกับซึ่งแนวคิดของ Joseph Campbell ที่พูดถึงการเลือกใช้วิธีเล่าเรื่องแนวการเดินทางของวีรบุรุษ ตัวละครที่เป็นวีรบุรุษนั่นคือปู่ทวดของเดฟั่น ที่นำผู้คนอพยพออกมาจากจากไทรบุรี หนีการปกครองของอังกฤษ โดยอำนาจและความเป็นวีรบุรุษของปู่ทวด เดฟั่น นั่นถูก ศิริวร แฝงไว้ในลักษณะท่าทางความสามารถ มีวิชาความรู้ มีความเป็นผู้นำ และยานพาหนะที่ ศิริวร  กำหนดให้เสือโคร่งเป็นยานพาหนะของปู่ทวด ซึ่งความจริงนั้นมนุษย์จะใช้เสือโคร่งเป็นยานพาหนะได้จริงหรือไม่นั้นไม่มีใครรู้  แต่เสือโคร่งกลับเป็นสัตว์เลี้ยงของปู่ทวดเดฟั่น นั่นบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่และน่าเกรงขาม สื่อความเป็นวีรบุรุษและเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นวีรบุรุษก็ทำให้สิ่งรอบข้างนั้นพลอยยิ่งใหญ่ตามไปด้วย ผู้เขียนจึงเลือกให้เสือเป็นสัตว์ที่อยู่ข้างวีรบุรุษ ดังข้อความต่อไปนี้

            “เดฟั่นจำเรื่องเหล่านั้นไม่ได้ ช่วงนั้นคือต้นฤดูฝน ก่อนเริ่มเดินทางออกจากหุบเขาบูจัง ไทรบุรี ปู่ทวดท่องบทกวีภาษาบาลี ตวัดไม้เรียวกวัดกวาดอากาศเหนือหัวขอให้เมฆฝนเปิดทาง” (เดฟั่น 2564 : 27)

            จากข้อความข้างต้นเห็นได้ว่าปู่ทวดของเดฟั่น  คือ ฮีโร่ที่แฝงอยู่ในบริบทของความสามารถผู้มีคาถาอาคม เพื่อใช้ในการเดินทางให้ราบรื่น ซึ่ง ตรง ตามแนวคิดเรื่อง monomyth ของ Joseph Campbell ที่พูดถึงเรื่องการเดินทางแบบวีรบุรุษ หมายถึง ทฤษฎีที่มองเห็นเรื่องเล่าในตำนานทั้งหมดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่เพียงเรื่องเดียว เช่น เดียวกับปู่ทวดของเดฟั่น ที่เป็นวีรบุรุษที่เดินทางอพยพผู้คนมาและได้สร้างถิ่นฐานเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์เดิม สร้างประวัติศาสตร์ระหว่างการเดินทาง จนกลายมาเป็นเรื่องเล่าที่น่าภาคภูมิใจของเดฟั่น แต่เดฟั่น จำอะไรไม่ได้ จำไม่ได้เลย

            เรื่องเล่าของเดฟั่น เป็นเรื่องที่ทำให้ประวัติศาสตร์ที่ซ่อนตัวอยู่ค่อย ๆ เปิดฉากออกมาผ่านการเล่าเรื่อง ผ่านบทสนทนา ผ่านตัวละคร โดยผู้เขียน ได้นำประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงมาถ่ายทอดผ่านเรื่องแต่งได้อย่างกลมกลืน การถ่ายทอดประวัติศาสตร์ผ่านเรื่องเล่าเป็นเรื่องที่สืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ซึ่งการที่ ศิริวร แก้วกาญจน์ นำประวัติศาสตร์มาเชื่อมโยงกับเรื่องแต่งได้อย่างต่อเนื่องและไม่ขาดตอนทำให้นวนิยาย เรื่องเดฟั่น เป็นนวนิยายเรื่องที่สามารถถ่ายทอดประวัติศาสตร์ได้อย่างไม่น่าเบื่อและน่าติดตามต่อ ไม่เพียงในแง่ของประวัติศาสตร์ที่ ศิริวร แก้วกาญจน์ ได้ ถ่ายทอดออกมาผ่านเรื่องเล่า ทั้งนี้ยังรวมไปถึง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของผู้คนในบริเวณภาคใต้ในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งมี    อัตลักษณ์แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ เดฟั่นเจ้าของเรื่องเล่า ได้เล่าไว้อย่างชัดเจน แต่เดฟั่นจำไม่ได้  

            เดฟั่น เป็นผู้กำหนดให้ถูกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแต่เดฟั่นจำไม่ได้เพราะผู้เล่าเรื่องที่แท้จริงคือตัวผู้เขียนเอง โดยการนำเสนอผ่านกระบวนการแนวคิดของนักปรัชญาหรือแนวคิดของผู้เขียนเอง นวนิยายเรื่องเดฟั่น ได้รับอิทธิพลแนวคิดในเรื่องของการวางโครงเรื่องให้ตัวละครเป็นผู้เล่าเรื่องและเล่าเรื่องโดยมีแนวคิดแบบการเดินทางของวีรบุรุษ  และในเรื่องมักจะเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นอัตลักษณ์ตามแนวคิดของ Owen Flanagan  ซึ่งเป็นเรื่องเล่าโดยใช้เรื่องราว เหตุการณ์ ประสบการณ์ ที่ตัวละครต่าง ๆ พบเจอมาถ่ายทอดและแฝงไปด้วยประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต เรื่องเล่าของผู้คนที่อพยพมาจากไทรบุรี มาตั้งถิ่นฐานในแถบเทือกเขาบรรทัดจะมีอยู่จริงหรือไม่นั้น ผู้วิจารณ์มิอาจทราบ เพราะจำอะไรไม่ได้ แต่ประวัติศาสตร์ที่เดฟั่น ได้ถ่ายทอดออกมาผ่านเรื่องเล่ามากมายนั้น ผู้วิจารณ์จำได้แล้วว่าบางส่วน มันคือประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงซึ่งเดฟั่นสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจนและแจ่มแจ้ง   

 --------------------------------

[1]เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม. (2562).  มุมมองต่อสนธิสัญญา ค.ศ.1909 ระหว่างสยาม-อังกฤษ และการแลกดินแดนมลายู. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565.

 **************************************************

ซื้อหนังสือ "เดฟั่น เรื่องเล่าของตระกูลคนเฆี่ยนเสือ" ได้ที่

PageOne Reading Space

Kafkafe

ร้านสวนเงินมีมา

ร้านหนังสือเล็กๆ สงขลา

ร้าน happening Shop

 

 

 

Visitors: 71,933