การต่อสู้ดิ้นรนของสภาวะชนชั้น ในนวนิยายเรื่องลอดริ้วทินกร
อดิศักดิ์ เพ็ชรมุข
มหาวิทยาลัยนเรศวร
แวดวงวรรณกรรมไทยนั้นพัฒนามาอย่างต่อเนื่องหลากยุคหลายสมัย ทั้งกลวิรีเล่าเรื่องหรือแม้กระทั่งแนวในการเขียนเองก็พัฒนาอยู่เสมอ นักเขียนต่างรังสรรค์ผลงานไม่ต่างจากอาหารจานเด็ดให้นักอ่านเป็นผู้ลิ้มรส นักเขียนแต่ละคนต่างมีชั้นเชิงแตกต่างกันไป โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ แวดวงวรรณกรรมไทยนั้นได้ประสบกับแนววรรณกรรมที่ถือว่าใหม่ในไทย นั่นคือวรรณกรรมแนวตัวละครมีความหลากหลายทางเพศหรือรู้จักกันในชื่อวรรณกรรมแนววาย (yaoi) ซึ่งได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน มีการผลิตสื่อจากวรรณกรรมไทยแนววายอย่างหลากหลาย อีกทั้งวรรณกรรมไทยแนววายบางเล่มยังได้รับการแปลในหลาย ๆ ภาษาและได้รับความนิยมในหลาย ๆ ประเทศอีกด้วย
ในหลายสิบปีก่อน วรรณกรรมแนววายยังเป็นนวนิยายเฉพาะกลุ่ม และสังคมยังไม่ค่อยยอมรับมากนักไม่ได้วางขายกันทั่วไป ต่อมาเมื่อวรรณกรรมแนววายเริ่มแพร่หลาย ก็มีการประณามจากสังคม นั่นคือเหตุการณ์ที่รายการ TV บูรพาหรือรายการหลุมดำออกเทปตอน "การ์ตูนสายพันธุ์ใหม่ ใครคือเหยื่อ" เพื่อกล่าวโทษถึงวรรณกรรมวายว่ามีเนื้อหาแนวลามกอนาจาร จนมีกระแสต่อต้านวรรณกรรมวายกันอย่างรุนแรง พ่อแม่ที่มีลูกซอบวรรณกรรมแนววายนำหนังสือของลูกมาเผาประหนึ่งว่าอยู่ในนวนิยายเรื่อง Fahrenheit 451 นักอ่านบางคนต้องใช้วิธีซื้อตามเว็บซต์ออนไลน์แล้วพิมพ์ลงในกระดาษเวียนกันอ่าน เมื่ออ่านจบแล้วจึงทิ้งเพื่อปกปิดความชอบในวรรณกรรมแนววายของตน หรือแม้แต่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 255 1 มีตำรวจสันติบาลไล่จับสำนักพิมพ์ที่ขายวรรณกรรมแนววายในงานหนังสืออย่างโข่งแจ้ง วรรณกรรมแนววายกลายเป็น "หนังสือต้องห้าม" ทั้งที่ไม่ควรมีหนังสือเล่มไหนกลายเป็นหนังสือต้องห้ามหากมีผู้อ่าน เหตุการณ์เหล่านี้จึงสามารถเรียกได้ว่า เป็นยุคมืดแห่งวรรณกรรมวายอย่างแท้จริง
วรรณกรรมวายผ่านการต่อสู้มาอย่างยาวนาน พร้อม ๆ กันกับเนื้อหาที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในยุคแรก ที่เนื้อหาเน้นประเด็นความรัก จนมาถึงในตอนนี้ที่เนื้อหากว้างกว่าความรัก เนื้อหาวรรณกรรมแนววาย ในปัจจุบันไม่ได้ยึดติดว่าจะต้องเป็นชายรักชายหรือหญิงรักหญิงเสมอไป ยังมีบุคคลข้ามเพศ หรือเหล่าผู้ไม่ฝักใฝ่ทางเพศและเพศอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน แม้กระทั่งโครงเรื่องก็พัฒนา จากเดิมที่เน้นเรื่องความรัก แต่ปัจจุบันมีใครงเรื่องที่หลากหลายขึ้น ทั้งโครงเรื่องแบบดิสโทเปีย จนถึงกระทั่งโครงเรื่องแบบวิพากษ์สังคม ทำให้ปัจจุบันวรรณกรรมแนววายจากเดิมที่เป็นหนังสือที่ถูกมองว่าไร้ค่า แต่ตอนนี้มีค่าทัดเทียมกับวรรณกรรมที่ตัวละครหลักรักเพศตรงข้าม หลีกพ้นความเป็นยุคมืด และช่วยผลักดันให้โลกรู้จักประเทศไทยในฐานะประเทศที่ผลิตสื่อแนววาย แม้จะยังไม่มีกฎหมายรองรับผู้หลากหลายทางเพศก็ตาม
หนังสือเรื่อง "ลอดริ้วทินกร" เป็นนวนิยายที่จัดอยู่ในวรรณกรรมแนววายที่เฟื่องฟูในปัจจุบัน มีตัวละครหลักหรือตัวละครดำเนินเรื่องเป็นตัวละครที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งความหลากหลายทางเพศนี้คือเพศ ไม่ใช่เพียงรสนิยมอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ
ลอดริ้วทินกร เป็นผลงานของนักเขียนวรรณกรรมแนววายรุ่นใหม่ "theneoclassic" ที่มักตีพิมพ์ผลงานผ่านสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์วรรณกรรมแนววายโดยเฉพาะ สำนักพิมพ์ Deep นักเขียนผู้มีซื่อโด่งดังในวงการวรรณกรรมแนววายนี้มีผลงานตีพิมพ์ด้วยกันนับสิบเล่ม เป็นวรรณกรรมวายแนวย้อนยุค (period novel) ไปแล้วสามเรื่อง ได้แก่ ลอดริ้วหินกร,ดาราจักร,ความพยาบาทของคริษฐ์ จันท์สลัก (รวมเล่มตีพิมพ์เอง) หากได้ลองอ่านผลงานทั้งสามเรื่องแล้ว จะเห็นได้ว่า นักเขียนมีความพยายามจะโยงให้วรรณกรรมวายแนวย้อนยุคทั้งสามเรื่องนี้ให้มีความเกี่ยวเนื่องกัน จากใช้ซื่อหรือสถานที่มาแทรกอยู่ในเรื่องนั้น ๆ อีกด้วย
เนื้อเรื่องถูกเล่าแบบมุมมองบุคคลที่สามแบบกว้าง หรือที่เรียกกันว่า มุมมองแบบพระเจ้า โดยจะเน้นตัวปฏิสัมพันธ์ของละครหลักได้แก่ เกริก ประจิมอารักขา , น่านปีง อินถา และ อามีน เสิร์มเหล็ก ตัวละครที่จะเป็นศูนย์กลางของเรื่องนั้นคือ เกริก ประจิมอารักขา ฉากส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโรงเรียน คล้ายได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์เก่าเรื่อง This Special Friendship ที่เกิดจากการดัดแปลงนิยายของนักเขียนชื่อ Roger Peyrefiteซึ่งผลงานที่ดัดแปลงทำเป็นภาพยนตร์นั้นชื่อว่า Les amities particulieres เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการดำเนินชีวิตในโรงเรียนประจำชายล้วน (boys boarding school แล้วจึงเกิดความสัมพันธ์อันงดงามในนั้นเอง ซึ่งฉากในเรื่องดูควรจะเป็นแบบนั้น มากกว่าโรงเรียนประจำชายล้วนในไทย
ลอดริ้วทินกรเล่าถึงความอปการของซนชั้นที่ส่งผลกับเด็กชายตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง เกริก ประจิมอารักขา ที่โดนตีตราจากสังคมว่าเป็นลูกกบฎ ถูกรังเกียจจากทั้งสังคมและเหล่าญาติ เขาเป็นเด็กชายที่มีตัวคนเดียวหลังจากมารดาและบิดาได้เสียไป เขาจึงต่อสู้เพื่อที่จะหยัดยืนในสังคมที่เขาอาศัยอยู่อย่างอยากลำบาก
อปการของชนชั้น ในเรื่องลอดริ้วทินกร
วรรณกรรมแนววายเรื่องลอดริ้วหินกรนี้ล้วนเต็มไปด้วยชนชั้นทางสังคม แม้จะเป็นวรรณกรรมแนววายที่ตามปกติจะเป็นวรรณกรรมที่เน้นเรื่องราวเชิงรัก ๆ ใคร่ ๆ หรือถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับกวีนิพนธ์ยุคสายลมและแสงแดด แต่วรรณกรรมเรื่องลอดริ้วทินกรนี้กลับก้าวกระโจนหลบหลุมนั้นได้อย่างสง่างาม ทั้งเรื่องเต็มไปด้วยคำเสียดสีชนชั้นทางสังคมที่ดูเป็นปัญหาคาราคาซังสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประชดประชันว่าการรวมกันของสังคมนั้นเป็นเพราะได้รับผลประโยซน์ร่วมกัน แต่หากดูดี ๆ แล้วเหตุการณ์เหล่านั้นไม่ต่างจากคำที่นักทฤษฎีมาร์ชิสชื่อดัง แมกซ์ เวเบอร์ได้ตั้งทฤษฎีไว้เกี่ยวกับสังคม ว่ามนุษย์นั้นมาเกี่ยวข้องกันได้ เพราะด้วยได้รับผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสิ้น ดังปรากฎในเรื่องทั้งความสัมพันธ์ของตัวละครหลัก หรือแม้กระทั่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเหล่าผู้คนถึงต้องส่งบุตรของตนมาเรียนโรงเรียนประจำชายล้วนร่วมกัน เรื่องนี้สามารถอธิบายได้ด้วยเพราะเหล่าผู้ปกครองเหล่านั้นต่างต้องการให้บุตรของตนสร้างความรู้จักกับผู้คนที่พอช่วยเหลือได้ทั้งสิ้น
การอยู่ร่วมสังคมแบบนี้ผู้ที่อยู่จะต้องปรับตัว ซึ่งสามารถใช้เรื่องราวของ เกริก ประจิมอารักขา เป็นสื่อ
แสดงถึงการดิ้นรนต่อสู้กับชนชั้นในสังคม
เกริก ประจิมอารักขากับสภาวะการดิ้นรนต่อสู้กับชนชั้น
เด็กชายคนหนึ่งที่ถูกตราหน้าเป็นชนชั้นที่ต่ำกว่าชนชั้นของตน เนื่องจากบิดานั้นเป็นกบฎ ทั้งที่เขาไม่ได้เกี่ยวข้องเลย ดังข้อความต่อไปนี้แสดงถึงสภาพสังคมที่ตราหน้าถึงความผิดของเกริก ประจิมอารักขา ทั้งที่เขาไม่ได้กระทำความผิดนั้นได้เป็นอย่างดี
" "เด็กหนุ่มคนนั้นลูกเต้าเหล่าใคร ผิวพรรณสะอาดสะอ้านสดใส แค่มองก็เชื่อได้ว่าคงเป็นเชื้อสาย
ผู้ลากมากดี"
"ก็หายาทคนสุดท้ายที่เหลืออยู่ของเจ้าพระยาประจิมอารักขา นั่นไงคะ คุณพี่คงไม่เคยได้ข่าวพ่อหนุ่มคนนี้
มาก่อนเป็นแน่"
"ประจิมอารักขา... กบฏหัวเมืองตะวันตกเมื่อหลายปีก่อนโน่นหรือ"
"เข้าใจถูกแล้วค่ะคุณพี่ คนที่ถูกทางการปราบปรามเพราะจับได้ว่าซ่องสุมกำลังพลคิดกบฏ ต่อมาถูกตัดสิน
ประหารชีวิตพร้อมลูกชายที่เอี่ยวด้วย... ซึ่งคนลูกเป็นพ่อแท้ ๆ ของหนุ่มน้อยคนนั้นเชียวค่ะ"
"เป็นเด็กกำพว้างั้นรึคะ!" " (น. 7)
จนถึงข้อความที่มีดังนี้
“ได้ยินอย่างนี้แล้วก็เศร้าใจนะคะ แต่หากกล่าวกันในเรื่องเวรกรรม ก็ถือว่าได้รับกรรมตามสมควรแล้วที่เกิด
ในตระกูลกบฏ”
"นั่นซีคะคุณพี่ น้องเห็นด้วย เชื้อกบฎมันไม่เคยทิ้งแถวหรอก" (น.8)
จากข้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่าบิดาของเกริก ประจิมอารักขานั้นกบฏต่อชนชั้นปกครอง หรืออาจะเทียบได้กับชนชั้นทางยุโรป คือ ขุนนาง (and Iord) และการที่เป็นลูกกบฏทำให้เกิดมลทิน (sigma) ซึ่งเป็นมลทินเชิงสังคม(social stigma)ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นว่าชนชั้นที่อยู่สูงกว่าในสังคมนั้นลดทอนคุณค่าของอัตลักษณ์ทางสังคมของบุคคลนั้นอย่างไร ซึ่งสิ่งที่เกริก ประจิมอารักขาโต้ตอบไปนั้นมีสองทางทางแรก คือเลือกที่จะใช้กลยุทธ์ทำให้กลมกลืนไปกับสังคมของคนปกติ โดยการโทษว่าตนเองสมควรได้รับการกระทำอย่างนี้แล้ว หรือจำยอมกลายเป็นคนผิดในสังคม ตามข้อความต่อไปนี้
“ในเมื่อเขารอดจากการประหารล้างโคตรตระกูลมาได้ ก็ถือว่าเป็นโชคดีเพียงพอแล้วที่จะหุบปาก
และดำเนินชีวิตต่อไปอย่างเงียบ ๆ" (น. 10)
และกลยุทธ์ที่สอง ดิ้นรนต่อสู้เพื่อที่จะได้รับความยอมรับในระดับชนชั้น ข้อความต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นภาวะการดิ้นรนเพื่อที่จะได้รับความยอมรับทางชนชั้นของเกริก ประจิมอารักขา เช่นท่าทางต่าง ๆ ที่ปรากฏออกมา
"เกริกในชุดนักเรียนเดินเคียงคู่มากับอามีน ร่างผอมบางเดิน หลังตรง คอตั้งระหง หากไม่มาพร้อมกับรอยยิ้มที่สดใส มองเผิน ๆ ดูคล้ายกับกำลังแบ่งชนชั้นด้วยการวางท่าทาง เด็กรุ่นน้องพลันยกมือไหว้ทักทายกันให้วุ่นก่อนจะหลีกทาง และเมื่อผ่านประตูห้องรวม" (น.17)
การกระทำเหล่านี้ทำให้เขามีตัวตนในสังคมที่เขาส้างขึ้นอย่างแท้จริง เห็นได้จากข้อความนี้
"เกริกได้ครองทั้งตำแหน่งนักเรียนผู้เป็นที่รัก และรุ่นพี่ที่น่ชื่นชม จนในที่สุดการปกครองเบ็ดเสร็จในระดับผู้นำของอาณาจักรจำลองเล็ก ๆ อย่างโรงเรียนประจำแห่งนี้ ก็ตกมาอยู่ในมือเด็กวัยรุ่นผู้เป็นลูกกบฏเพียงผู้เดียว เมื่อเกริกได้รับเลือกให้เป็นประธานนักเรียนด้วยคะแนนเลือกตั้งชนิดขาดลอย
มันสำเร็จแล้ว...
จากลูกกบฏ กลายมาเป็นคนหนุ่มผู้มีชื่อเป็นที่ถูกพูดถึงในแวดวงสังคมโรงเรียน" (น.29)
มันสำเร็จแล้ว เกริกได้สิ่งที่ตนต้องการ คืออยู่ร่วมกับระบบซนชั้นได้สำเร็จ แต่เมืองจำลองเล็ก ๆ นี้กับถูกสั่นคลอนโดย น่านปีง อินถา ชายหนุ่มเชื้อเจ้าทางภาคเหนือ ที่มารดาของตนมาแต่งงานกับน้าชายของเกริกน่านปิง อินถาถูกเขียนขึ้นตามขนบของนวนิยายที่มีตัวละครภาคเหนือ นั่นคือใสชื่อจนไม่ทันโลก บุคลิกคล้ายสาวเครือฟ้า หรือแม้แต่ดาวนิลในแม่อายสะอื้น เมื่อมาเจอสังคมแบบนี้ย่อมรู้สึกว่าตนต่ำต้อย ดังคำบรรยายความรู้สึกของน่านปีงดังนี้
"ความรู้สึกเหมือนเป็นมดตัวน้อยที่อยู่ในโลกใบใหญ่ไม่มีผิด" (น. 129)
แน่นอนว่าเมื่อได้รู้จักตั้งแต่คราวแรก เกริกย่อมให้ความเอ็นดู ทว่าเมื่อรู้ว่ามารดาของน่านปีงจะมาแย่งน้าชายอันเป็นที่รักแล้ว ย่อมเกิดความริษยาเป็นธรรมดา แต่ความเป็นผู้นำทำให้เกริกเลือกจะคุมสีหน้าและปล่อยผ่าน หาได้คิดว่าการปล่อยผ่านนั้นกลับเป็นปัญหาแก่เกริกในภายหลัง
ไม่นานนักสังคมแห่งชนชั้นก็เริ่มทำลายเกริก ประจิมอารักขา ทั้งที่เขามั่นใจว่าสามารถควบคุมได้หม่อมราชวงศ์ที่เป็นปู่ของเขาบังคับให้เขากราบทำความเคารพน่านปีง อินถาทั้งที่เป็นรุ่นน้อง ทั้งอีกหลายอย่างที่เหล่าศักดินานั้นใช้ค้อนตอกศีรษะเกริกให้ว่าเขาเป็นเพียงชนชั้นต่ำต้อย และสุดท้าย น่านปีง อินถา ผู้ใสซื่อ กลับแย่งเพื่อนที่เป็นคู่คิดของเกริกไป นั่นคือ อามีน เสิร์มเหล็ก
เด็กหนุ่มเริ่มตระหนักได้ว่าปัญหาใหม่กว่าการดิ้นรนต่อสู้กับซนชั้นคืออะไร ดังข้อความต่อไปนี้
"การมีอยู่ของ น่านปิง อินถา คือสิ่งที่เลวร้ายที่สุดของโลก" (น. 218)
แต่ด้วยความที่มีความคิดเป็นผู้ใหญ่ เกริกจึงทนความเมตตาของตนไม่ได้ คอยช่วยและเตือนน่านปีง อินถาทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นเขาเล่าเรื่องที่กบกินปลาหางนกยูงของเขาไปเพราะเขาใจดีให้มันอาศัยอยู่ในบ่อ เพื่อสอนเรื่องอย่าใจดีจนเกินไปให้กับน่านปิ้ง อินถา แต่เจ้าชายหนุ่มจากเมืองเหนือกลับเข้าใจผิด นำไปฟัองมารดารของตน จนทำให้เกริก ประจิมอารักขาได้รูซึ้งถึงชนชั้นที่สูงกว่า
มารดาของน่านปิง "อภิรดี อินถา"ฟ้องหม่อมราชวงค์ที่เป็นพ่อตาของเธอ หรือจะเรียกว่าเป็นตาของเกริกก็ได้ว่าบุตรของตนถูกทำร้ายโดยคำพูดของเกริก นั่นจึงทำให้เกริกต้องออกจากสังคมที่เขาเพิ่งจะอยู่ร่วมได้ทั้งยังถูกทำร้ายเพื่อตอกย้ำว่าชนชั้นของตนต่ำต้อยเพียงไหน เกริกที่มั่นใจมาตลอดว่าตนนั้นถูกยอมรับในสังคมที่เต็มไปด้วยชนชั้นจึงต้องสับสน
ในสุดท้าย เกริก ประจิมอารักขา ก็พ่ายแพ้ พ่ายแพ้แก่ระบบศักดินา ตอกย้ำซื่อตอนที่ 6 ในเรื่อง"ศักดินาคืออำนาจ" ตอกย้ำว่าเขาก็ไม่ต่างจากคางคกในบทกวีอุซเซนี นั่นเป็นผลมาจากการท้าทายคนที่อยู่ในชนชั้นสูงกว่า โดยทระนงตนว่าเทียบเท่า หารู้ไม่ว่า แม้จะนานเพียงใด ก็ยังไม่มีคนยอมรับผู้คนจากซนชั้นต่ำกว่า ไม่ว่าในอดีตรีปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่านวนิยายวายไม่ได้พูดถึงความรักหรือความสัมพันธ์ของคู่ชีวิตเพียงอย่างเดียว แต่ยังพูดถึงชนชั้นทางสังคมที่เป็นปัญหาคาราคาซังอยู่คู่กับสังคมไทยมานาน การที่ชนชั้นต่ำที่สุดในสังคมไม่ได้รับการยอมรับในเรื่อง ก็ไม่ต่างจากเหล่าผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่ยังไม่ได้รับการยอมรับตามกฎหมาย พวกเขายังไม่สามารถอนุมัติให้คู่ชีวิตของตนรักษาเลยได้ถ้าบาดเจ็บหนัก เพียงเพระเขาเป็นผู้หลากหลายทางเพศ หรือแม้กระทั่งการยอมรับถึงเพศอันควรจะได้ กลับถูกปัดเป็นเพียงรสนิยม
สังคมจะยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับซนชั้น คนที่ต้องดิ้นรนแบบ เกิริก ประจิมอารักขามีอยู่เรื่อยไป ปัญหานี้จะตกทอดถึงลูกหลานอย่างยาวนาน ถ้าไม่มีใครสักคนยืนหยัดมาเก้ไขปัญหา หรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม