2023A010
เพราะไร้อ้อมกอด จึงหนาวเหน็บใน “จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้”
อัฐกาญจน์ จันทวิบูลย์
“ไวรัสโคโรนา” ไวรัสที่ไม่ได้ทาลายแค่เซลล์ร่างกาย แต่กัดกินไปถึงจิตใจของผู้คน ไวรัสที่ไม่ได้สร้าง แค่โรคโควิด-19 แต่ยังสร้าง “โรคทุกข์ โรคท้อ… โรคไร้การศึกษา” (น.41) ไวรัสที่ไม่ได้แค่แยกผู้คนให้ห่างไกล แต่ทาให้ต้องจากกันไปอย่างไม่มีวันกลับมา โลกเล่นตลกกับพวกเราอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว ไม่เคยมีคู่มือบอกว่าเราต้องรับมือกับโรคและโลกใหม่นี้อย่างไร หลายคนสับสนและความหวาดกลัวต่อวิกฤตการณ์ครั้งยิ่งใหญ่นี้ และแน่นอนว่าสิ่งมีชีวิตตัวกระจ้อยร่อยในสังคมไทยอย่างพวกเราก็ถูกโลกใบใหญ่รังแกจนบอบช้าไม่น้อย
กวีนิพนธ์ “จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้” ของปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ ซึ่งได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์) ประจาปี 2565 เป็นกวีนิพนธ์ที่ผู้เขียนใช้วิธีการเล่าผ่าน การนาเสนอบทสนทนาและฉายภาพฉากชีวิตช่วงที่โรคร้ายกาลังแพร่ระบาดของตัวละครที่เป็นตัวแทน คนธรรมดาสามัญในสังคมไทย ซึ่งมีหลากหลายวัยและหลากหลายอาชีพ ตั้งแต่เด็กรุ่นใหม่ วัยทางาน ตลอดจนผู้สูงอายุ โดยในกวีนิพนธ์จะแบ่งออกเป็น 4 ภาค คือ “ยุคสมัยแห่งการแพร่พันธุ์” บอกเล่าชีวิตของผู้คนในช่วง ที่ไวรัสเริ่มระบาด “เราจะทาให้ทุกอย่างโรแมนติก” กล่าวถึงความคิดของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่พยายามมองหาความสวยงามจากชีวิตที่ไม่สวยงาม “จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้” กล่าวถึงผู้คนที่กาลังหลงทาง และ “ไปสู่อ้อมกอดอันเป็นนิรันดร์” ซึ่งโอบล้อมทุกคนให้กลับเข้าสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นอีกครั้ง
ตลอดการเล่าเรื่องในกวีนิพนธ์ “จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้” มีการฉายภาพตัดสลับไปมาของ ตัวละครต่าง ๆ โดยปาลิตาได้พาผู้อ่านเข้าไปนั่งอยู่ในฉากเหตุการณ์นั้น ๆ ทาให้ผู้อ่านสามารถสัมผัสได้ถึงบรรยากาศ ได้ยินเสียงของตัวละคร และได้เข้าถึงอารมณ์ของตัวละครอย่างสมจริง
“เด็ก” ที่โลกไม่โอบกอด
ในช่วงที่โรคร้ายระบาด ผู้คนไม่สามารถออกไปไหนได้ ต้องกักตัวอยู่ในบ้าน เด็กนักเรียนก็ต้องปรับตัวตามสถานการณ์โดยการเปลี่ยนมาเรียนออนไลน์ แทนการไปโรงเรียน แต่ทว่าไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะมีทุกอย่างพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง
ในช่วงหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงชีวิตที่แตกต่างกันอย่างคนละขั้ว ระหว่างเด็กหญิงฐานะเพียบพร้อมซึ่งอาศัยอยู่กับคุณแม่ในเมืองอันแสนเจริญ แต่กลับรู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิตเพราะไม่มีอะไรทา กับเด็กที่อาศัยอยู่กับคุณยายในสถานที่ที่ไม่ใกล้เคียงกับคาว่าบ้าน แต่ต้องดิ้นรนทาทุกอย่างที่ทาได้ เพื่อแลกมากับข้าวหนึ่งมื้อเพื่อประทังชีวิตให้อยู่รอดในแต่ละวัน
“ถ้าอยากเรียน - เรียนออนไลน์ก็ได้ลูก
คอร์สภาษาถูกถูกมีออกถม
ไม่กี่พัน เลือกเอาที่เขานิยม
ดีกว่านอนเศร้าซมบนโซฟา” (น.25)
“เขาให้เรียนออนไลน์ - หนูไม่พร้อม
เงินออมของยายใต้หมอนนั่น
เก็บไว้ซื้อหยูกยาสารพัน
โน้ตบุ๊กเครื่องนั้น - แค่ฝันไป” (น.48)
จะเห็นได้ว่า ในช่วงเวลาเดียวกัน เด็กคนหนึ่งมีทางเลือกมากมาย เพราะคุณแม่สามารถจ่ายค่าเรียนพิเศษเพียง “ไม่กี่พัน” ให้ได้อย่างสบาย แต่สาหรับเด็กอีกคน เงิน “ไม่กี่พัน” นี้ก็คงเป็นเพียงความ “ฝัน” เพราะแม้แต่เงินในการซื้ออุปกรณ์การเรียนที่จาเป็นก็ยังไม่มี และยังต้องเก็บเงินไว้เป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอีกสารพัดให้กับคุณยาย ทั้งที่ตัวละครทั้งสองอยู่ในวัยเรียนเหมือนกัน อาศัยอยู่ในประเทศเดียวกัน แต่กลับมีชีวิตที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงเพียงเพราะฐานะทางการเงินที่แตกต่างกัน
“สวัสดีครับคุณครู… ผมอยู่นี่
ยังนั่งอยู่ตรงนี้ ที่มุมเก่า
ได้ยินผมไหมครับ - ผมเสียงเบา
มองเห็นผมหรือเปล่า - ผมตัวน้อย” (น.98)
ข้อความดังกล่าวเป็นเสียงอันแผ่วเบาที่ก้องกังวานในใจของเด็กนักเรียนตัวน้อย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในตัวละครที่ถูกลืม เสมือนว่าเป็นบุคคลซึ่งไร้ตัวตน แม้แต่คุณครูในห้องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ยังมองข้าม นับประสาอะไรกับคนในสังคมที่ก็คงจะไม่มีวันเปิดหูรับฟังเสียงของคนเหล่านี้ ความไร้ตัวตนของตัวละครเด็กข้างต้นนี้ อาจสะท้อนถึงความเหลื่อมล้าที่หลายคนมองไม่เห็น หรือการมองข้ามปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่
หากลองพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว บางทีปัญหาที่เรื้อรังเหล่านี้อาจไม่ได้เป็นเพราะไวรัส แต่เกิดจาก “ไวรัฐ” (น.42) ปาลิตาใช้ลีลาการเล่นคาพ้องเสียงเพื่อเสียดสีรัฐบาลที่ไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์โรคระบาดได้อย่างเด็ดขาด จนประชาชนทั่วประเทศต้อง “อดครึ่ง กินครึ่ง” (น.28) โดยปาลิตาเสนอว่านี่คงเป็นนโยบาย “คนละครึ่ง” ที่รัฐบาลต้องการ
เพราะสังคมที่เหลื่อมล้า โอกาสการเข้าถึงการศึกษาของเด็กยากจนจึงต่าเป็นทุกเดิม เมื่อถูกซ้าเติมด้วยวิกฤติโรคระบาด แสงสว่างอันริบหรี่ในชีวิตของพวกเขาก็ดับลงในทันที ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว การศึกษาที่มีคุณภาพควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เยาวชนทุกคนควรได้รับ แต่ในประเทศไทย เยาวชนกลับต้องซื้อการศึกษาที่มีคุณภาพมาด้วยต้นทุนราคาสูง ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะมีต้นทุนนั้น ปาลิตาใช้การเปรียบเทียบระหว่างชีวิตของ ตัวละครเด็กทั้งสองคน เพื่อสะท้อนให้ผู้อ่านเห็นถึงปัญหาสังคมได้อย่างเห็นภาพ นอกจากนี้ บทกวีของปาลิตา ยังเป็นพื้นที่ที่ให้ตัวละคร “เด็ก” ซึ่งถูกละเลยจากรัฐและผู้คนในสังคมได้ส่งเสียง เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
แว่นกันปัญหา: สายตาที่มองโลกด้วยความโรแมนติก
ในขณะที่คนมีฐานะกาลังใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย และคนบางกลุ่ม หรืออาจเรียกได้ว่าคนส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับความยากลาบาก คนสามัญที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มยากจนก็ทาได้เพียงแค่มองดูเหตุการณ์อันแสนทรหดที่เกิดขึ้นผ่านแว่นตาแห่งความโรแมนติก
“โรแมนติกอะไรได้ปานนั้น
คือสามัญแห่งชีวิตน่าอิจฉา
ความเหลื่อมล้าที่พร่าบ่นสนทนา
เป็นปัญหาตรงไหน - ไม่เห็นมี !” (น.62)
ปาลิตาได้ถ่ายทอดข้อความข้างต้นผ่านสายตาของคนที่มีฐานะไม่ได้แร้นแค้น ซึ่งมองว่าการใช้ชีวิตตามชนบท อยู่ในกระท่อมหลังเล็ก ห่างไกลจากผู้คนและความโกลาหลอลหม่านในเมือง ดูเป็นภาพที่อบอุ่นและน่าอิจฉา โดยหารู้ไม่ว่าชีวิตจริงไม่ได้สวยงามเหมือนในภาพฝัน ปาลิตาอาจกาลังเน้นย้าให้ผู้อ่านเห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล้า โดยวิพากษ์กลุ่มคนที่เลือกที่จะเบือนหน้าหนีปัญหา หรือไม่แม้แต่จะตระหนักให้เห็นถึงปัญหา โดยเลือกมองด้วยสายตาโรแมนติก มิได้คานึงถึงความเป็นจริงที่โหดร้าย แม้จะมองจากภายนอกอาจดูเหมือนเป็นชีวิตที่เงียบสงบ แต่หากได้ลองไปสัมผัสการใช้ชีวิตแบบนั้นด้วยตนเองก็จะพบว่า รสชาติของ ความลาบาก คงจะไม่ถูกปากมนุษย์คนใดทั้งสิ้น
นอกจากนี้ ปาลิตาพาผู้อ่านเข้าไปอยู่ในความคิดของตัวละครหนึ่งที่พยายามมองโลกที่โหดร้ายให้กลายเป็นโลกที่โรยไปด้วยกลีบกุหลาบ พยายามลิ้มรสชีวิตอันแสนขมขื่นให้หอมหวาน ตัวละครตัวนี้เป็นตัวแทนของคนส่วนมากในประเทศ ที่ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ทุกวันเพราะความแร้นแค้น แต่กลับทาได้เพียงแค่พยายามมองโลกในแง่ดี จนกลายเป็นเหมือนการหลอกตัวเอง ปาลิตาใช้น้าเสียงประชดชันเพื่อเย้ยชีวิต จนบางทีสายตาอันโรแมนติกก็กลายเป็นสายตาที่บอดข้างหนึ่ง และเหลืออีกข้างหนึ่งไว้เพื่อเลือกมองเพียงสิ่งที่อยากมอง
“จะล่องไหลกับสายน้า… ทุกสายน้า
จะดื่มด่าอ้อมกอดอันอ่อนหวาน” (น.118)
ข้อความข้างต้นเป็นความคิดของตัวละครที่ถูกปัญหาชีวิตรุมล้อม จนมองไม่เห็นทางออกที่ดีกว่า การทิ้งตัวลงสู่แม่น้าเจ้าพระยา ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องน่ายินดี แต่ปาลิตาใช้ภาษาที่สละสลวยใน การบรรยายทาให้บรรยากาศอันแสนหดหู่ ฟังดูเป็นเรื่องแสน “โรแมนติก” เหมือนว่าแม่น้าเจ้าพระยาพร้อมที่จะโอบกอดและต้อนรับจิตใจอันแตกสลายนี้ไว้
อาจกล่าวได้ว่า ปาลิตากาลังสาธิตให้ผู้อ่านเห็นตัวอย่างของการมองเรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องที่สวยงาม แม้ในวันที่ชีวิตของใครคนหนึ่งต้องจบลง แว่นแห่งความโรแมนติกในกวีนิพนธ์นี้จึงทาหน้าที่ใน การนาเสนอปัญหาความเหลื่อมล้าระหว่างชนชั้น ตลอดจนกระตุ้นให้ผู้อ่านได้ฉุกคิดและ “ตื่น” จากแว่นตาแสนโรแมนติกดังกล่าว รวมถึงตระหนักและตั้งคาถามกับตนเองว่า เราจะปล่อยให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบต่อไปหรือไม่ หรือจะต้องมีอีกกี่ชีวิตที่ดาดิ่งลงสู่อ้อมกอดอันหนาวเย็นของแม่น้าเจ้าพระยา จึงจะทาให้พวกเราหันมาโอบกอดกันและกัน
ไวรัสโคโรนาเข้ามาเป็นเพียงแค่หนึ่งในบททดสอบของสังคม และแสดงให้เห็นแล้วว่าสังคมไทยอ่อนไหวและเปราะบางเพียงใด บางทีโลกอาจไม่ได้พยายามกลั่นแกล้งพวกเรา แต่เป็นคนบนโลกอย่างพวกเราที่กลั่นแกล้งกันเองโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นระบบการทางานของรัฐหรือการมองมนุษย์ด้วยกันอย่างขาดความเห็นอกเห็นใจ การโอบกอดของโลกในชื่อหนังสือจึงไม่ได้หมายถึงอ้อมกอดของโลกใบนี้ หากแต่เป็นอ้อมกอดของ “คนบนโลก” ที่จะค่อย ๆ โอบล้อมกันอย่างแน่นแฟ้นและจริงใจ เพื่อสลายความหนาวเหน็บที่เกิดขึ้น ดังที่ปาลิตาและหนังสือเล่มนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า โลกนี้คงจะไม่มีวันสวยงามได้ “จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้” อีกครั้ง
“เถิดรู้จักกันใหม่ ได้รับรู้
ถึงการมีอยู่ กันและกัน” (น.165)
อ้างอิง
ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์. (2565). จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ผจญภัย.